แค่ “ร้องไห้ได้” ไม่ได้แปลว่า “เล่นดี”

หนึ่งในความเข้าใจผิดยอดฮิตของคนอยากเป็นนักแสดงคือ ร้องไห้ได้ = เล่นดี
หลายคนจึงพยายามหาวิธีต่าง ๆ มาใช้ในการแสดงเพื่อให้ตัวเองสามารถเข้าถึงบทบาทผ่านการ “ร้องไห้” ได้ นำมาสู่วิธีการร้องไห้ที่ทั้งถูกหลักและผิดหลักต่าง ๆ ตามมา

บางคนเมื่อร้องไห้ไม่ได้ก็จะใช้วิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ้องลม จ้องไฟ เอาหัวหอมมาอัง ไปจนถึงการใช้ยาหม่องป้ายตา สารพัดวิธีที่จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางตาจนเกิดการ “ร้องไห้”
เราร้องไห้ได้ในที่สุด แต่ลืมนึกไปว่า “น้ำตา” ที่เกิด มันเกิดจากการระคายเคือง แต่ไม่ได้เกิดจาก “ความรู้สึก” เศร้า หรือเสียใจจริง ๆ แบบที่ตัวละครรู้สึก

มีน้ำตาก็จริง พอจะหลอกคนดูได้ว่าเราเล่นได้
แต่สิ่งที่ตัดกันคือ คนดูจะรู้สึกว่าการร้องไห้ครั้งนี้ “ผิวเผินมาก”
ตัวละคร “ร้องไห้” แต่เรากลับ “ไม่รู้สึก” เศร้าตามเขาแม้แต่น้อย
ดังนั้น แค่การร้องไห้ อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการแสดง

แต่การทำให้ตัวเอง “รู้สึกจริง ๆ” ต่างหากที่สำคัญกว่า
“ความเชื่อ” ว่าตัวเองคือตัวละครนั้น กำลังผ่านเหตุการณ์นั้นคือสิ่งที่สำคัญที่สุด
บางครั้งตัวละครคุณอาจ “กลั้นร้องไห้” เหมือนที่มนุษย์กลั้นจริง ๆ
จนทำให้คนดู “ร้องไห้” แทนคุณก็เป็นไปได้

“การร้องไห้ได้” ไม่ได้แปลว่าเล่นดี
แต่นักแสดงที่เล่นดีต้องร้องไห้ได้
และมีสกิลการแสดงอื่นๆประกอบกันด้วย

Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping